Top
ข่าวสารและโปรโมชั่น
หมวดหมู่
ผลกระทบของก๊าซมลพิษจากการเผาไหม้
รายละเอียด :

1. คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของสารประกอบคาร์บอน เป็นก๊าซที่ไม่มีสีรสและกลิ่นเบากว่าอากาศทั่วไป เมื่อหายใจเข้าไปก๊าซนี้จะรวมตัวฮีโมโกลบิน (haemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงได้มากกว่าออกซิเจนถึง 200-250 เท่า เกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (Carboxyhemoglobin) ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถรับ O 2 ได้ตามปกติร่างกายได้รับ O 2 น้อยลงและหัวใจต้องสูบฉีดโลหิตมากขึ้น เพื่อทำให้โลหิตผ่านปอดมากขึ้น จะได้มีการรับ O 2 ให้มากขึ้นหัวใจและปอดจะต้องทำงานหนักขึ้น อาการทั่วไปเมื่อร่างกายได้รับ CO คือ วิงเวียนศีรษะหายใจอึดอัด คลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะมึนงง หากร่างกายได้รับคาร์บอนไดออกไซด์มากอาจช็อกหมดสติหรือตายได้

2. ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ออกไซด์ของไนโตรเจนประกอบด้วยไนตรัสออกไซด์ ( N 2O) ไนตริกออกไซด์ (NO) ไดไนโตรเจน ไตรออกไซด์ ( N 2O 3) ไนโตรเจนไดออกไซด์( N 2O) ไดไนโตรเจนเตตราออกไซด์( N 2O 4) และไดไนโตรเจนเพนตะออกไซด์ ( N 2O 5) โดยทั่วไปก๊าซที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ คือ ก๊าซไนตริกออกไซด์ (NO) และก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ( NO 2)

3. ก๊าซไนตริกออกไซด์ (NO) เป็นก๊าซเฉื่อยมีคุณสมบัติเป็นยาสลบ เป็นก๊าซไม่มีสีและกลิ่น ในธรรมชาติทั่วไปพบในปริมาณน้อยกว่า 0.5 ppm. ละลายน้ำได้เล็กน้อย ส่วนไนโตรเจนไดออกไซด์ ( NO 2) เป็นก๊าซสีน้ำตาล ถ้ามีจำนวนมากจะมองเห็น ก๊าซทั้งสองชนิดจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ภูเขาไฟระเบิด หรืออาจเกิดจากกลไกของจุลินทรีย์ และนอกจากนี้อาจเกิดจากมนุษย์ เช่น อุตสาหกรรมผลิตกรดไนตริก และกรดกำมะถัน และโรงงานผลิตวัตถุระเบิด และการเผาไหม้เของเครื่องยนต์ เป็นต้น ก๊าซไนตริกออกไซด์ทำปฏิกิริยากับโอโซนในบรรยากาศจะเกิดเป็นไนโตเจนไดออกไซด์และออกซิเจน ในทางตรงกันข้าม เมื่อมีแสงแดดจะทำให้ไนโตรเจนออกไซด์เกิดปฏิกิริยาผันกลับ โดยทั่วไป ก๊าซ NO 2 ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เกิดอันตราย แต่ NO 2 จะรวมตัวกับน้ำในอากาศเป็น H NO 3 (กรดไนตริก) ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อน

4. ซัลเฟอร์ออกไซด์ (SO x ) ออกไซด์ซัลเฟอร์ประกอบด้วย SO 2 และ SO 3 โดยทั่วไปมักเขียนแทนซัลเฟอร์ออกไซด์ ด้วย SO x ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ( SO 2) เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่ติดไฟ มีกลิ่นแสบจมูก ละลายได้ดีในน้ำโดยจะเปลี่ยนเป็นกรดซัลฟูริก ในธรรมชาติทั่วไปจะมีปริมาณน้อยในบรรยากาศคือ 0.02 - 0.1 ppm. แต่ถ้าพบในปริมาณสูงแล้วส่วนมากจะเกิดจากการเผาไหม้ โดยใช้เชื้อเพลิงหรือวัสดุที่มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบปฏิกิริยาการเกิดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ( SO 2)

ถ้า SO 2 ทำปฏิกริยากับ O 2 ในอากาศจะได้ SO 3 ยิ่งถ้าในบรรยากาศมีตัวเร่งปฏิกิริยา เช่น มังกานีส เหล็ก หรือกลุ่ม metallic oxide จะทำ ให้ปฏิกริยาเร็วขึ้น

ถ้าในบรรยากาศ มีละอองน้ำหรือความชื้นสูง SO 2 จะเกิดการรวมตัวเป็นฝนกรด (acid rain) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ป่าไม้ แหล่งน้ำ สิ่งมีชีวิตและมีฤทธิ์กัดกร่อนอาคาร

5. Smog ( ควัน) ควันมีทั้งควันดำและควันขาว ดังนี้
ควันดำ คือ อนุภาคของคาร์บอนเป็นผงหรือ เขม่าเล็ก ๆ ที่เหลือจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ที่มีการใช้น้ำมันดีเซลเป็นส่วนใหญ่ และจากโรงงานอุตสาหกรรม

ควันขาว คือ สารไฮโดรคาร์บอนหรือน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจะปล่อยออกมาทางท่อไอเสีย สารไฮโดรคาร์บอนเหล่านี้อาจเกิดปฏิกิริยาต่อจนได้เป็นก๊าซโอโซนในบรรยากาศเมื่อได้รับแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

6. ฝุ่นละออง (Suspended Particulate Matter) ฝุ่นละอองในบรรยากาศเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญที่สุดของกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน